เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

Mind Mapping

Big Questions :
    1. ไก่สัมพันธ์กับตัวเราอย่างไร
    2. นักเรียนจะสร้างนวัตกรรมในการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบโดยใช้ต้นทุนต่ำแต่มีคุณภาพได้อย่างไร
          3. นักเรียนจะเป็นผู้ผลิต  และสร้างทางเลือก ในการบริโภคอาหารที่มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างไร 
ภูมิหลังของปัญหา:
       ในปัจจุบันเด็กๆรุ่นใหม่ไม่รู้จักไก่พันธุ์พื้นเมือง ไก่พันธุ์พื้นเมืองเริ่มสูญพันธุ์ อีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลานานในการเลี้ยงดู และคนส่วนใหญ่ไม่นิยมบริโภคไก่พันธุ์พื้นเมืองเพราะไก่พันธุ์พื้นเมืองหากินยาก เนื้อเหนียว ราคาแพงทุกคนจึงหันไปบริโภคไก่ฟาร์มที่มีตามท้องตลาดและหาได้ง่าย  เมื่อผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคเนื้อไก่ค่อนข้างสูง ผู้ผลิตจึงใช้สารเร่งการเจริญเติบโต เพื่อลดระยะเวลาในการผลิต และขายได้ทันตามความต้องการของตลาด แต่สารเร่งการเจริญเติบโตเมื่อสะสมจะส่งผลต่อผู้บริโภค อาทิเช่น เป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วขึ้น เริ่มมีหน้าอกโต เป็นสิว ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ มีประจำเดือนเร็ว เป็นต้น
       จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น นักเรียนชั้น ป.5 จึงสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เชิงระบบ เพื่อคิดค้นสร้างนวัตกรรมในการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบโดยใช้ต้นทุนต่ำแต่มีคุณภาพรวมทั้งสามารถเลือกบริโภคอาหารที่ผลิตจากระบบโรงงานที่ปลอดภัยให้กับตนเองและผู้อื่นได้

ปฏิทินการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL ( Problem Based Learning)
Topic : ไก่จ๋า
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557
Week
Input
Process
Output
Outcome
1-2
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
- เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ในห้องเรียนของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตู้ฟักไข่ในห้องเรียน
คลิปกบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่
- เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- เล้าไก่ในโรงเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- ครูเปิดคลิปกบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่ ให้นักเรียนดู
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
- สำรวจเล้าไก่ การอาศัยอยู่ของไก่ในโรงเรียน ครูกระตุ้นการคิดเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ในชุมชนของนักเรียนเป็นอย่างไร เป็นต้น
- สำรวจในห้องเรียนของเรา ครูกระตุ้นการคิด เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร เพราะเหตุใด จะทำอย่างไร
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรในQuarter นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้ เรื่องนั้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ดูคลิปต่างๆ
- การสนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง
- เดินสำรวจเล้าไก่ การอาศัยอยู่ของไก่ในโรงเรียน
- สำรวจ สังเกตห้องเรียน
- แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้จากคลิปกบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่
- เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟักของไข่รวมทั้งสามารถให้เหตุผลเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของอาหารในปัจจุบันต่อตนเอง
 ทักษะการสื่อสาร
- พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
- พูดนำเสนอสิ่งที่ได้ดูจากการดูคลิปให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อทำ
Short note  เขียนสรุป
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน การร่วมกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
3
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
นักเรียนจะตั้งชื่อโครงงานนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับอาหารและอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ บรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
- บรรยากาศในห้องเรียน
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- ตั้งชื่อโครงงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ 11 สัปดาห์
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน  
- วาดภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ระดมสมองตั้งชื่อโครงงาน
นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
ทำเค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
ทำปฏิทินการเรียนรู้(แผ่นเล็ก)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind mapping และสามารถออกแบบวางแผน
กระบวนการเรียนรู้ตลอด 11สัปดาห์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
- ออกแบบตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับโครงงานได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
- จัดหมวดหมู่ปฏิทินรายสัปดาห์ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับโครงงาน
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

4
โจทย์ :  ที่ฟักไข่
Key Questions :
- ที่ฟักไข่จะส่งผลต่อการฟักไข่(การเกิด)ของไก่หรือไม่เพราะเหตุใด
- ถ้านักเรียนต้องออกแบบที่ฟักไข่เองนักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด
- ไม่มีเล้าไก่ เด็กๆจะให้ลูกเจี๊ยบอยู่อย่างไร
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ผู้ปกครอง
- ที่ฟักไข่ในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ บรู๊ฟ /กระดาษ A4
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ที่ฟักไข่ทำให้เกิดไก่จริงหรือไม่
ผ่านเครื่องมือคิด ชักเย่อความคิด ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่อว่า 
ถ้านักเรียนต้องออกแบบที่ฟักไข่เองนักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด
- หาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนๆ
- วางแผน ออกแบบที่ฟักไข่
- นักเรียนระดมความคิดไม่มีเล้าไก่ จะให้ลูกเจี๊ยบอยู่อย่างไร
- หาข้อมูลเกี่ยวกับลูกเจี๊ยบ นำเสนอแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ
- ทำชาร์ตความรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
- วางแผน ออกแบบทำที่ฟักไข่
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของไข่ในที่ฟักทุกวัน
ชิ้นงาน
- ที่ฟักไข่
- shot note
- ชาร์ตความรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟักไข่(เกิด)ของไก่ได้ รวมทั้งสามารถออกแบบวางแผนที่ฟักไข่ไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
ทักษะ :
 ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำที่ฟักไข่ให้กับลูกเจี๊ยบได้
- ประดิษฐ์ออกแบบที่ฟักไข่ได้
- ใช้อุปกรณ์ในการทำงานและเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอการทำที่ฟักไข่ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิด การกินของไก่พื้นเมืองในการทำที่ฟักไข่ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบที่ฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมืองได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

5
โจทย์ :  เล้าไก่
Key Question :
- เด็กๆจะออกแบบที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลได้อย่างไร
- เด็กๆจะทำอย่างไรถึงจะได้ปลวก เพื่อเป็นอาหารของไก่
-โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมืองทำหน้าที่อย่างไรบ้าง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- โรงเรียน
- ผู้ปกครอง
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
 ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
- เด็กๆจะออกแบบที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลได้อย่างไร
- นักเรียนหาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่อาศัย, โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง
- สำรวจพื้นที่ในโรงเรียนที่เหมาะสมในการสร้างเล้าไก่
- นักเรียนและผู้ปกครองร่วมทำเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
- หาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารของไก่พื้นเมืองจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- วาดภาพโครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง พร้อมบอกหน้าที่
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่อาศัยให้และอาหารไก่พื้นเมือง
- ทำเล้าไก่พันธุ์พื้นเมืองรวมกับผู้ปกครอง
- ให้อาหารไก่(ลูกเจี๊ยบ)
ชิ้นงาน
- เล้าไก่
- ภาพวาด โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถวางแผนออกแบบสร้างที่อยู่ไก่พันธุ์พื้นเมืองให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำอาหาร(ปลวก)ไก่พันธุ์พื้นเมืองจากไม้
ออกแบบเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
ได้อย่างน่าสนใจ
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเช่น ไม้ ทราย แกลบ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเล้าไก่และการนำไม้มาทำปลวกเป็นอาหารไก่พื้นเมืองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบสร้างเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง และอาหาร
ไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเล้าไก่และการทำปลวกจากไม้ได้
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น








6
โจทย์ :  โรคและการป้องกันโรคในไก่พื้นเมือง
Key Question :
- มีเพียงเชือก นักเรียนจะทำที่ล้อมเล้าไก่พื้นเมืองได้อย่างไร
- ถ้าไก่เป็นโรคระบาดจะทำอย่างไร โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีนในการรักษา
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- โรงเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- เชือกสานตาข่าย
- กระดาษ A4
- สมุดบันทึก
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า มีเพียงเชือก นักเรียนจะทำที่ล้อมเล้าไก่พื้นเมืองได้อย่างไร
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการทำที่ล้อมเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin  นักเรียนแต่ละคน นำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม จนนักเรียนมองภาพกว้างของการทำตาข่ายล้อมเล้าไก่
- นักเรียนแต่ละคนสานตาข่ายล้อมเล้าไก่
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ถ้าไก่เป็นโรคระบาดจะทำอย่างไร โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีนในการรักษา
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin จากนั้น แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
- ทำ Mind Mapping เกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง อย่างน้อย 5 โรค
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมืองและการรักษาโรค
- สานตาข่ายล้อมเล้าไก่
- ทำเล้าไก่เพิ่มเติมกับผู้ปกครอง
ชิ้นงาน
- Mind Mapping
เกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
- ตาข่ายล้อมเล้าไก่
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมืองและสามารถสานตาข่ายล้อมเล้าไก่ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สานตาข่ายล้อมเล้าไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ไม้ไผ่ เชือก
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำเชือกมาทำที่ล้อมเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ Mind Mapping ให้น่าสนใจได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ Mind Mapping ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น






7
โจทย์ :  สมุนไพรรักษาโรค
(ไก่พื้นเมือง)
Key Question :
- นักเรียนคิดว่าสมุนไพร สามารถรักษาไก่พันธุ์พื้นเมือง ที่เป็นโรคได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
- เด็กๆรู้ได้อย่างไรว่าเรากินผัก และผลไม้ในซุปเปอร์มาเก็ตแล้วปลอดภัย
- เมื่อไก่เป็นโรคระบาด นักเรียนจะดูแล้วเล้าไก่ ไก่ และอาหารอย่างไร เพราะเหตุใด
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ไก่พื้นเมือง
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- โรงเรียน/ชุมชน
- กระดาษ A4
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
- ถ้าไก่เป็นโรคระบาดจะทำอย่างไร โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีนในการรักษา
- นักเรียนคิดว่าสมุนไพร สามารถรักษาไก่พันธุ์พื้นเมือง ที่เป็นโรคได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
- เด็กๆจะได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและวัคซีน ว่าเป็นอย่างไร
และข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคไก่ต่างๆ
- เด็กๆสำรวจสมุนไพรที่มีในโรงเรียน ชุมชนเพื่อนำมาทำยารักษาโรคที่เกิดในไก่ต่างๆ
- เด็กๆนำสิ่งที่มีในโรงเรียน ชุมชนมาทำยารักษาโรคไก่ เช่น ตะไคร้ ขมิ้น  บอระเพ็ด เป็นต้น ทดลองใช้จริงกับไก่ที่มีอาการของโรคนั้นๆ
- บันทึกผลที่เกิดขึ้น สะท้อน แลกเปลี่ยนผลที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้เรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะและวัคซีน ว่าเป็นอย่างไร
และการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคไก่ต่างๆ
- ทำยารักษาโรคในไก่ต่างๆพร้อมนำไปใช้จริง
ชิ้นงาน
- ยารักษาโรคไก่จากสมุนไพร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของ
สมุนไพรแต่ละอย่างและสามารถทำยาสมุนไพรในการรักษาไก่ที่มีอาการของโรคนั้นๆได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำยาสมุนไพรรักษาโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น สมุนไพรต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาทำยารักษาโรคไก่พันธุ์พื้นเมือง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบทำยาสมุนไพรรักษาไก่พื้นเมืองให้น่าสนใจได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ Shot note เกี่ยวกับการดูแล เล้าไก่ และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมืองให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรในการรักษาไก่ที่มีอาการของโรคนั้นๆได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
8
โจทย์ :  ก้อนเห็ดเก่าจำนวนมากKey Question :
- ก้อนเห็ดที่เรามีอยู่จะทำให้เกิดประโยชน์หรือสร้างมูลค่าได้อย่างไร
- นักเรียนจะทำอาหารไก่พื้นเมืองโดยใช้ต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างไร
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ก้อนเห็ดเก่า
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
ครูพานักเรียนเดินสำรวจก้อนเห็ดที่มีในโรงเรียน ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ก้อนเห็ดที่เรามีอยู่จะทำให้เกิดประโยชน์หรือสร้างมูลค่าได้อย่างไร
- แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าก้อนเห็ดเก่า
- นักเรียนออกแบบวางแผน เตรียมอุปกรณ์ สร้างมูลค่าก้อนเห็ดเก่า ผ่านชาร์ตความรู้
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำเห็ดฟาง เช่น ตะกร้า ขี้เลื่อย ฟาง คัดเลือกก้อนเห็ดเก่าที่ใช้ได้
- สำรวจ ติดต่อซื้อเชื้อเห็ดฟาง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนจะทำอาหารไก่พื้นเมืองโดยใช้ต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างไร เพราะเหตุใด
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการทำอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- ออกแบบวางแผน เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำอาหารให้ไก่พื้นเมือง
- ทำอาหารให้ไก่พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดก้อน
- สำรวจก้อนเห็ดเก่า
- ทดลองทำอาหารให้ไก่พื้นเมือง
ชิ้นงาน
- อาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง
- ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการการสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่าและสามารถทำอาหารไก่พื้นเมืองที่มีต้นทุนจำกัดได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำอาหารไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
- สร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่าได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กระดาษ กรรไกร ต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำก้อนเห็ดเก่ามาสร้างมูลค่า
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบทำอาหารไก่พื้นเมืองที่มีต้นทุนจำกัดได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการออกแบบ วางแผนสร้างมูลค่าก้อนเห็นเก่าให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับก้อนเห็ดเก่า อาหารของไก่พื้นเมืองได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
9
โจทย์ :  อาหาร(จากไก่พื้นเมือง)
Key Question :
- นักเรียนจะคิดเมนูอาหารไก่พื้นเมืองให้น่ารับประทานและยังคงคุณค่าได้อย่างไร
- ตอนเย็นเด็กๆจะต้องกลับบ้าน เด็กๆจะดูแลไก่อย่างไร
- ไก่ที่เลี้ยงบินออกจากตาข่ายทุกวันเด็กๆจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น
- เด็กๆจะป้องกันสุนัข แมว งูและสัตว์อื่นๆได้อย่างไร
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตาข่าย
- ไก่พื้นเมือง
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- เครื่องปรุงอาหาร/อุปกรณ์ทำอาหาร
- ร่มไผ่
- กระดาษ A4
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
- นักเรียนจะคิดเมนูอาหารไก่พื้นเมืองให้น่ารับประทานและยังคงคุณค่าได้อย่างไร
- ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับอาหารที่ทำจากไก่พื้นเมืองว่ามีอะไรบ้าง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubric
- นักเรียนสำรวจและสอบถามจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- นักเรียนวางแผนทำอาหารและเปิดตลาด
- สะท้อนปัญหา แลกเปลี่ยนผลที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้เรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการเมนูอาหารไก่พื้นเมือง
- สำรวจเล้าไก่พื้นเมืองที่นักเรียนสร้างเอง สะท้อนปัญหาที่พบเจอ
- ทดลองทำน้ำยาขนมจีนจากไก่พื้นเมือง
- เปิดตลาด
ชิ้นงาน
- น้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
- shot note  การทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของอาหาร
(ไก่พื้นเมือง) เห็นความเชื่อมโยงของคนและไก่พื้นเมือง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมืองได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กระดาษ กรรไกร ต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมืองให้น่าสนใจและคงคุณค่าทางอาหารได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมืองให้น่าสนใจและคงคุณค่าทางอาหารได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ shot note  การทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับเมนูของไก่พื้นเมืองได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
10
โจทย์ : ไก่พื้นเมืองในอนาคต
Key Question :
นักเรียนคิดว่าไก่พื้นเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4, A3

ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิดว่าไก่พื้นเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคต
ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- แบ่งนักเรียนเป็น 12 กลุ่มแต่ละกลุ่มออกแบบไก่พื้นเมืองในอนาคต    ลงบนกระดาษA3 นักเรียนแต่ละกลุ่มวาดภาพไก่พื้นเมืองในอนาคต ลงบนกระดาษ 80 ปอนด์
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิดว่าบทความที่ดีและน่าสนใจน่าจะเป็นอย่างไร
นักเรียนแต่ละคนเขียนบทความไก่พื้นเมืองในอนาคต
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
- ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
- ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
- ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
- สัปดาห์นักเรียนจะทำอะไรต่อ
- ทำเห็ดฟาง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาะงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการแนวโน้มของไก่พื้นเมืองในอนาคตได้
- นำเสนอบทความ เกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคตได้
- ทำเห็ดฟาง
ชิ้นงาน
- ภาพวาด เกี่ยวไก่พื้นเมืองในอนาคต
- เขียนบทความไก่พื้นเมืองในอนาคต
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคตได้อย่างมีเหตุผลผ่านภาพวาด ละครและบทความได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำเห็ดฟางได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กระดาษ กรรไกร ต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของไก่พื้นเมืองในอนาคตได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การทำเห็ดฟางจากก้อนเห็ดเก่าได้ ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ บทความ เกี่ยวไก่พื้นเมืองในอนาคตให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของไก่พื้นเมืองใน
อนาคตได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
11
โจทย์ :สรุปองค์ความรู้ “ไก่จ๋า” และเผยแพร่องค์ความรู้
Key Questions:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนโครงงานไก่จ๋าและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรปรับปรุงมีอะไรบ้าง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อุปกรณ์การ
แสดง
- ห้องเรียน
- กระดาษ A4
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนโครงงานไก่จ๋าและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน ผ่านเครื่องมือคิด Flow chart
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรปรับปรุง เกี่ยวกับการเรียนโครงงานเรื่องไก่จ๋า
- นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน ผ่านละคร คลิป ให้เพื่อนๆ น้องๆได้ชม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรปรับปรุง
- นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน ผ่านละคร คลิป
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- ละคร
- Flow chart
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
สรุปการเรียนรู้ราย
สัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถถ่ายทอดตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาตลอด 10 สัปดาห์ให้ผู้อื่นรับรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้และสามารถอธิบายกระบวนการทำที่ฟักไข่ให้เป็นลูกเจี๊ยบได้)
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ ผ้า
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบกิจกรรมในการนำเสนอผลงานได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ละคร สรุปองค์ความรู้ให้ครูและคนอื่นๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสิ่งที่เรียนได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น


หน่วย ไก่จ๋า