เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 1- Week 2


   Understanding  Goal : นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้พร้อมให้เหตุผลอ้างอิงได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1-2
(14 – 23 .ค 57)
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
- เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ในห้องเรียนของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและมีความคิดเห็นอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้เพราะเหตุใด
นักเรียนจะตั้งชื่อโครงงานนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
Round Rubin : ครูและนักเรียนพูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เสียใจ/ดีใจที่สุดประทับใจ,คลิปและ เรื่องที่อยากเรียน
Card and Chart : เขียนเรื่องที่อยากเรียน
Show and Share :  นำเสนอเรื่องที่อยากเรียน
Think Pair Share : ระดมความคิดเกี่ยวกับชื่อโครงงานและสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากเรียนรู้ในโครงงานนี้
Place mat : เขียนสรุปจากสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการสำรวจ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
คลิปเรื่องบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่
เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- ตู้ฟักไข่
บรรยากาศในชั้นเรียน
- เล้าไก่ในโรงเรียน
- ครูกระตุ้นและเอื้ออำนวยการให้เกิดการเรียนรู้  เช่น การใช้คำถาม
เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร คิดอย่างไร ฯลฯ
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
นักเรียนดูคลิป กบนอกกะลา ตอน ไก่ไข่ ไข่ไก่
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้างและจากคลิปกบนอกกะลา ตอน ไก่ไข่ ไข่ไก่ที่ได้ดู นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากคลิปกบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่รายบุคคลลงบนกระดาษ A4 (Short note)
วันอังคาร
ชง
- ครูพานักเรียนไปสำรวจเล้าไก่ การอาศัยอยู่ของไก่ในโรงเรียน - ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม
1. เห็นและรู้สึกอย่างไรจากการเดินสำรวจ
2. เล้าไก่ในชุมชนของนักเรียนเป็นอย่างไร
3. ในห้องเรียนของเรามีเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่เห็น ความรู้สึกพร้อมกับเชื่อมโยงถึงชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่
ใช้
นักเรียนสรุปสิ่งที่ได้จากการพูดคุยสนทนา ผ่าน Place mat
วันพุธ
 ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้เพราะเหตุใด
เชื่อม
นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนลงในกระดาษครึ่งของครึ่งA4
นำเสนอแลกเปลี่ยนให้ครูและเพื่อนๆฟัง
วันศุกร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะตั้งชื่อโครงงานนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น ผ่านเครื่องมือคิด (Think Pair Share)

เชื่อม
นักเรียนแต่ละคน เขียนตั้งชื่อโครงงานลงในกระดาษครึ่งของครึ่งA4 จากนั้นจับคู่แลกเปลี่ยนชื่อโครงงานและเขียนชื่อใหม่ที่ทั้งสองคนพอใจ สุดท้ายนำชื่อโครงงานแต่ละคู่มาระดมความคิดตั้งชื่อโครงงานที่ทุกคนทั้งห้องเห็นด้วย 1 ชื่อ
ใช้
นักเรียนจับคู่ออกแบบป้ายชื่อโครงงานให้น่าสนใจและสอดคล้องกับโครงงานที่เรียนเพื่อใช้ในการตกแต่งบรรยากาศในชั้นเรียน
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เชิงระบบและอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
ใช้
นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงไก่เชิงระบบ (รายบุคคลลงกระดาษ A4)
เชื่อม
นักเรียนจับคู่ ครูแจกสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ที่แต่ละคนเขียนไว้ให้แต่ละคู่ช่วยกันดู (สิ่งที่เหมือนกันเลือกเพียงข้อเดียว สิ่งที่แตกต่างยกมาทั้งหมด)

ใช้
- นักเรียนช่วยกันเขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1-2
ชิ้นงาน
สรุปสิ่งที่ได้จากคลิปกบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่
เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
(แผ่นเล็ก)
- สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
Place mat (เขียนสรุปจากสิ่งที่ได้จากการสำรวจ)

- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ดูคลิปและตอบคำถาม กบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่
- สำรวจเล้าไก่ในโรงเรียนและตอบคำถามแสดงความคิดเห็น
- สำรวจ สังเกต ตั้งคำถาม สิ่งที่เปลี่ยนแปลงในห้องเรียน
- แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
- ระดมความคิดตั้งชื่อโครงงาน
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟักของไข่รวมทั้งสามารถให้เหตุผลเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของอาหารในปัจจุบันต่อตนเอง
 ทักษะการสื่อสาร 
- พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
- พูดนำเสนอสิ่งที่ได้ดูจากการดูคลิปให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อทำ
Short note  เขียนสรุป
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT 
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน การร่วมกิจกรรมจนสำเร็จ
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรรู้









1 ความคิดเห็น:

  1. ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Quarter ที่ 1 สำหรับสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แรกของการเปิดเรียนพี่ๆป.5 ตื่นเต้นและกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆที่คุณครูแต่ละวิชาเตรียมมา เช่น 3 วันแรกของการเปิดเรียนเด็กๆได้เล่นเกมส์อ๊บ อ๊บ, เป็ดชิงพื้นที่, จัดดอกไม้, เล่าเรื่องราวความประทับใจและเสียใจในช่วงปิดเรียน, รับรู้ความรู้สึกของร่างกายที่เปลี่ยนไป, เป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดี และอื่นๆอีกมากมาย เพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูและเด็กๆ ตัวเด็กๆและเพื่อนใหม่ ให้เด็กๆรู้จักตนเอง รับรู้ได้ถึงความรู้สึก อารมณ์และความคิดในขณะนั้น ทุกครั้งเมื่อครูทำกิจกรรมเสร็จ ครูและเด็กๆจะได้พูดคุยสนทนาถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ในกิจกรรมนั้นๆและ เมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้นเด็กๆจะทำอย่างไรต่อ เด็กๆทุกคนตั้งใจและเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น
    ในสัปดาห์ที่ 2 ครูกระตุ้นการคิดและสร้างแรงบันดาลใจเพื่อให้เด็กๆอยากเรียนรู้เรื่อง ไก่พื้นเมือง ผ่านการสำรวจ โดยครูพาเด็กๆเดินสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน พาเด็กๆไปดูเล้าไก่พื้นเมือง ขณะที่ดูครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า เห็นอะไร รู้สึกย่างไร ในหมู่บ้านหรือชุมชนของเราเป็นอย่างไร พี่ตะวันบอกว่า ไก่ในหมู่ชาวบ้านจะปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติครับ พี่โจ บอกว่าตอนเย็นๆไก่จะกลับมานอนเล้าเองครับ พี่แม็ค บอกว่าลูกเจี๊ยบจะต้องขังไว้ในสุ่มครับ พี่คอร์ด บอกว่า ไก่บ้านเราแข็งแรงครับ หลังจากนั้นครูจึงพาเด็กๆไปที่เล้าไก่พันธุ์ไข่ เด็กๆตื้นเต้นมาก พี่มิว บอกว่าไก่น่าจะหิวค่ะพวกมันวิ่งมาหาพวกเราด้วยค่ะ พี่แฟ้ม ทดสอบเอาหญ้าให้ไก่กิน ครูฟ้าค๊า ไก่กินหญ้าด้วยค่ะ ขณะนั้นพี่ผู้หญิงหาหญ้าให้ไก่กินสนุกสนามมาก พี่ผู้ชายเดินไปเจอแหแดง อะไรครับครูฟ้า และเด็กๆคิดว่าคืออะไรค่ะ พี่คนหนึ่งพูดขึ้น เหมือนไข่ผัมเลย พี่ผู้ชายถาม เอาไว้ทำอะไรครับ ให้ไก่กินเด็กๆเชื่อไหมค่ะ กินได้เหรอครับ ครูฟ้า ยิ้ม และพวกก็เดินสำรวจบริเวณโรงเรียนไปเรื่อยๆ จนถึงห้องเรียน เด็กๆนั่งวงกลม ครูกระตุ้นการคิดเด็กๆอีกครั้ง จากการเดินสำรวจครั้งนี้เด็กๆได้เรียนรู้อะไรบ้างคนละ 1 อย่าง ไม่ซ้ำกัน ทุกคนตอบได้ไม่ซ้ำกันและยังสามารถเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับไก่ที่รู้จักให้เพื่อนฟัง เช่น พี่ครัช เล่าเรื่องไก่ขี้ควาย ให้เพื่อนๆฟังทุกตั้งใจและชื่นชมที่เพื่อนมีเรื่องราวดีๆ และอีกหลายๆคนที่ถ่ายทอดเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองให้เพื่อนๆฟัง ทั้งชั่วโมงเด็กๆมีความสุข กระตือรือร้นและตั้งใจมาก
    นอกจากเดินสำรวจบริเวณโรงเรียน เด็กๆยังได้ดูคลิป กบนอกกะลา ตอนไก่ไข่ ไข่ไก่ ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร พี่แป้งบอกว่า ไข่สามารถทำอะไรได้หลายอย่างมากค่ะ พี่เช็ค บอกว่า น่าสงสารไก่มากครับ พี่แม็ค ถามว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกันครับ เพื่อนๆบอกว่า ไก่ เพราะไม่มีไก่ก็จะไม่มีไข่ บางคนบอกว่าไข่ เพราะ มีไข่แล้วฟักเป็นไก่ หลังจากดูคลิปเสร็จ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรใน Quarter นี้เพราะเหตุใด พี่ป.5 อยากเรียนรู้เรื่องไก่พื้นเมืองและอาเซียน โดยให้เหตุผลว่าเรื่องไก่พื้นเมือง เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว น่าสนใจ บางคนไม่รู้จักได้ไก่พื้นเมือง ไก่พื้นเมืองเลี้ยงง่าย สามารถปล่อยตามธรรมชาติได้ ส่วนเรื่องอาเซียน เด็กๆให้เหตุผลว่า อีก 1 ปี จะเปิดอาเซียนเมื่อถึงวันนั้นจะต้องมีหลายๆประเทศเข้ามาในประเทศไทย คนในประเทศเยอะขึ้น เราจะต้องศึกษาเกี่ยวกับประเทศอาเซียนไว้ครับ/ค่ะ เด็กๆทุกคนเห็นว่าทั้งสองเรื่องสำคัญจึงเลือกที่จะเรียนรู้ทั้งสองเรื่องโดย Q1 เรียนเลี้ยงไก่พื้นเมืองและ Q2 เรียนเรื่องอาเซียน ทุกคนมีความสุขและพอใจในสิ่งที่อยากเรียน
    จากแผนการเรียนรู้ที่วางไว้ว่าในสัปดาห์ที่ 2 เด็กๆจะได้ตกแต่ง และจัดบรรยากาศที่สอดคล้องกับโครงงาน ทำให้ไม่ได้ทำเพราะเด็กๆ ยังตั้งชื่อโครงงานที่น่าสนใจและทุกคนพอใจไม่ได้ ครูจึงฝากให้เด็กๆได้ไปคิดเป็นการบ้านในวันหยุด เสาร์-อาทิตย์
    2 ชั่วโมงสุดท้ายของสัปดาห์เด็กๆทำสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อย่างเรียนรู้ โดยเริ่มจากการคิดคนเดียว คิดคนเดียวเสร็จก็นำเสนอและทุกคนช่วยเพิ่มเติมจน ครอบคลุมสิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้ และร่วมกันทำสิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้แผ่นใหญ่ สุดท้ายทบทวนสิ่งที่เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ นักเรียนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 1-2

    ตอบลบ