เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 3


Understanding  Goal : นักเรียนสามารถออกแบบวางแผนกระบวนการเรียนรู้ได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
3
(26-30
พ.ค 57)
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เชิงระบบบ้าง
นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
Backboard Share : ระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้
Brainstorm  : ปฏิทินการเรียนรู้
Show and Share นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
Wall Thinking สิ่งที่รู้แล้ว  สิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ บรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี
- มุมหนังสือ
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ครูกระตุ้นและเอื้ออำนวยการให้เกิดการเรียนรู้ เช่น การจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์
วันจันทร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เชิงระบบบ้าง
ใช้
นักเรียนทำสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน เป็น Mind Mapping
วันอังคาร-วันพุธ
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไร
เชื่อม
-นักเรียนช่วยกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้แต่ละเรื่องมากรุ๊ปเนื้อหาว่าน่าจะอยู่ในกลุ่มใดเพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการเรียนรู้ผ่านเครื่องมือคิด Blackboard Share
นักเรียน ช่วยกันวางแผนการเรียนรู้ลำดับความสำคัญของเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
แบ่งนักเรียนออกเป็น 10 กลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คนช่วยกันคิดรูปแบบกิจกรรม ชิ้นงาน แหล่งเรียนรู้ ในแต่ละเนื้อหาที่วางแผนไว้ โดยบันทึกแบบร่างลงในกระดาษA3 ผ่านเครื่องมือคิด Brainstorm นำเสนอครูและเพื่อน ครูและเพื่อนเสนอแนะเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ผ่านเครื่องมือคิด Show and Share
ใช้
-  นักเรียนแต่ละกลุ่มจัดทำปฏิทินการเรียนรู้ตามที่ออกแบบไว้ลงในกระดาษแผ่นใหญ่ พร้อมตกแต่งให้สวยงามสอดคล้องกับโครงงาน
วันศุกร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับโครงงานอย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการตกแต่งห้องเรียนและทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งสัปดาห์
ใช้
- นักเรียนจัดมุมหนังสือในห้องเรียน
- วาดภาพ/เขียนชื่อโครงงานตกแต่งห้องเรียน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ชิ้นงาน
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
ทำปฏิทินการเรียนรู้
(แผ่นเล็ก)
ทำปฏิทินการเรียนรู้
(แผ่นใหญ่)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 2
ภาระงาน
- ระดมความคิดในการวางแผนการเรียนรู้
- เสนอความคิดเห็นและตกแต่งห้องเรียน
นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind mapping และสามารถออกแบบวางแผน
กระบวนการเรียนรู้ตลอด 10สัปดาห์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
- ออกแบบตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับโครงงานได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
- จัดหมวดหมู่ปฏิทินรายสัปดาห์ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับโครงงาน

ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้











Mind mapping (ก่อนเรียน)





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 ของการเรียนรู้ ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ 2 นักเรียนระดมความคิดช่วยกันตั้งชื่อโครงงานเกี่ยวกับไก่ ให้น่าสนใจและมีความหมาย ในการตั้งชื่อโครงงานมีความวุ่นวาย เนื่องจากนักเรียนแต่ละคนมีชื่อที่อยากจะตั้งเยอะมาก และแต่ละคนก็อยากจะใช้ชื่อของตนเอง ครูฟ้าจึงใช้วิธีปล่อยให้นักเรียนคุยกันภายใน 10 นาที โดยครูจะออกไปรอข้างนอก เพื่อให้นักเรียนได้คุยกันอย่างอิสระ ในช่วงการตั้งชื่อโครงงานนักเรียนใช้เวลานานกว่าที่ทุกคนจะ เห็นด้วยและพอใจในชื่อโครงงาน สุดท้ายก็ได้ชื่อโครงการว่า “ไก่จ๋า” โดยให้เหตุผลว่า พวกเราเรียนเกี่ยวกับไก่ เมื่อพูดชื่อโครงงานแล้วรู้สึกว่าไพเราะ เมื่อเราเลี้ยงไก่พวกเราจะเรียกไก่ว่า “ไก่จ๋า” นอกจากตั้งชื่อโครงงานให้น่าสนใจ เด็กๆยังได้ช่วยกันวาดภาพออกแบบป้ายชื่อติดหน้าห้องเรียน อีกกิจกรรมที่เด็กๆได้ทำคือ ทบทวนสิ่งที่รู้เกี่ยวกับ ไก่ ผ่าน Mind Mapping นำเสนอให้เพื่อนๆได้ฟัง
    เด็กๆวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน จากสิ่งที่เพื่อนอยากเรียนรู้ โดยเริ่มจากการคิดคนเดียวก่อน จากนั้นนำสิ่งที่คิดมา นำเสนอให้เพื่อนๆฟัง และช่วยกันเพิ่มเติมในแต่ละสัปดาห์ ครูช่วยอำนวยการและกระตุ้นการเรียนรู้ ผ่านคำถาม จนนักเรียนมองภาพกว้างของการทำปฏิทินได้
    ในวันศุกร์ ครูมีโจทย์ว่า ภายใน 14 วัน เด็กๆจะฟักไข่ให้เป็นลูกเจี๊ยบได้อย่างไร เด็กๆรู้สึกตื้นเต้นมากที่จะได้ทำหน้าที่แทนแม่ไก่ เด็กๆเริ่มจากการหาข้อมูลพื้นฐานของการเกิดลูกเจี๊ยบและปัจจัยที่จะทำให้เกิดลูกเจี๊ยบ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอให้เพื่อนๆฟัง วันเสาร์-วันอาทิตย์ เด็กๆเตรียมอุปกรณ์มาทำที่ฟักไข่ในวันจันทร์ ของสัปดาห์ที่ 4 ช่วงบ่ายเด็กๆทบทวนสิ่งที่เรียนมาทั้งสัปดาห์ ความรู้ใหม่ที่ได้มีอะไรบ้าง ปัญหา/อุปสรรคที่เจอเด็กๆแก้ปัญหาอย่างไร และจะทำอะไรต่อในสัปดาห์หน้า

    ตอบลบ