เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 6


Understanding  Goal : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นในไก่พันธุ์พื้นเมือง อีกทั้งยังสามารถสานตาข่ายล้อมเล้าไก่ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
(16-20 มิ.ย 57)
โจทย์ : โรคและการป้องกันโรคในไก่พื้นเมือง
Key Questions:
- มีเพียงเชือก นักเรียนจะทำที่ล้อมเล้าไก่พื้นเมืองได้อย่างไร
- ถ้าไก่เป็นโรคระบาดจะทำอย่างไร โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีนในการรักษา

Backboard share : ระดมความคิดเกี่ยวกับโรคของไก่พันธุ์พื้นเมือง
Round Rubin : ระดมความคิดเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
Show and Share นำเสนอMind Mapping
Wall Thinking : Mind Mapping
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ผู้ปกครอง
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า มีเพียงเชือก นักเรียนจะทำที่ล้อมเล้าไก่พื้นเมืองได้อย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการทำที่ล้อมเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin  นักเรียนแต่ละคน นำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม จนนักเรียนมองภาพกว้างของการทำตาข่ายล้อมเล้าไก่
ใช้
นักเรียนแต่ละคนสานตาข่ายล้อมเล้าไก่
วันอังคาร
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ถ้าไก่เป็นโรคระบาดจะทำอย่างไร โดยไม่ใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีนในการรักษา
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin จากนั้น แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้
ทำ Mind Mapping เกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง อย่างน้อย 5 โรค
วันพุธ
ชง
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ไก่พันธุ์พื้นเมืองกับไก่ฟาร์มเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
- ครูให้นักเรียนแต่ละคนสังเกตภาพไก่พันธุ์พื้นเมืองกับไก่ฟาร์มที่ครูเตรียมมา และกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับไก่พันธุ์พื้นเมืองกับไก่ฟาร์ม ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
นักเรียนสานตาข่ายล้อมเล้าไก่ต่อจากวันจันทร์
วันศุกร์
ชง 
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- นักเรียนสานตาข่ายและทำเล้าไก่เพิ่มเติมร่วมกับผู้ปกครอง
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6 ผ่านการ์ตูนช่อง
ชิ้นงาน
- Mind Mapping
เกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
- ตาข่ายล้อมเล้าไก่
- การ์ตูนช่อง (สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์)
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมืองและการรักษาโรค
- สานตาข่ายล้อมเล้าไก่
- ทำเล้าไก่เพิ่มเติมกับผู้ปกครอง
ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมืองและสามารถสานตาข่ายล้อมเล้าไก่ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สานตาข่ายล้อมเล้าไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ไม้ไผ่ เชือก
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำเชือกมาทำที่ล้อมเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ Mind Mapping ให้น่าสนใจได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ Mind Mapping ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 6 แล้วรู้สึกว่า เร็วมากๆ เด็กๆมาโรงเรียนแต่เช้า ยิ้มแย้ม แจ่มใส พี่แม็ค ถามว่าครูฟ้าครับใครสานตาข่าย ทำอย่างไรครับ พวกเราจะทำได้ไหมครับ ครูฟ้าไม่ได้ตอบอะไร ได้แต่ยิ้ม ครูฟ้ากระตุ้นการคิดด้วยคำถาม มีเพียงเชือกเด็กๆจะทำที่ล้อมเล้าไก่ได้อย่างไร พี่น็อต บอกว่า สานเป็นตาข่ายครับ แล้วเราจะทำอย่างไร ถึงจะได้ตาข่ายที่สามารถล้อมเล้าไก่ได้ค่ะ ขณะที่ทุกคนกำลังคิดอยู่ พี่โจกับพี่แม็คกำลังนั่งสานตาข่ายที่มีในห้องแล้วพูดขึ้นว่า อ่อง่ายนิดเดียวเองเพียงแค่เราผูก ผมทำได้แล้วครับ จากนั้นเพื่อนๆก็เริ่มเดินไปดูและตัดเชือกโดยจับคู่ช่วยกันทำ ครูฟ้าคอยกระตุ้นและแนะนำ เช่นถ้าเราสานรูใหญ่จะเกิดอะไรขึ้น ตัดเชือกไม่เท่ากันจะเกิดอะไรขึ้น ขณะทำงานเด็กๆเจอปัญหาตลอดเวลา เช่น เชือกที่แต่ละคู่ได้ไป ตัดได้สักพักเชือกก็พันกัน สานไปได้สักพักบ้างเส้นหายไป แต่เด็กๆก็แก้ปัญหาจากการสังเกตเพื่อนคู่อื่นที่ไม่เจอปัญหาว่าเพื่อนทำอย่างไร เดินไปดูกลุ่มอื่นบ้าง เช่นคู่พี่แม็คและพี่ครัช มีทักษะการตัดเชือกดีมาก เชือกไม่พันกันเลย และใช้เวลาตัดไม่นานก็สามารถสานตาข่ายได้ และโดยเฉพาะพี่ครัชสามารถสานเชือกเป็นตาข่ายได้ดี มีความอดทนและทำงานจนสำเร็จ เพื่อนๆชื่นชมพี่ครัชมาก แต่บางกลุ่มก็ใช้เวลาตัดเชือกนาน จึงจะได้สานตาข่าย กิจกรรมนี้ทำให้ครูได้เรียนรู้ว่าถึงเราจะไม่เคยทำแต่ถ้าเราลองลงมือทำ เราก็สามารถทำได้เช่นกัน พี่ผู้หญิงถามว่า ทำไมเราถึงไม่ซื้อตาข่ายมาเลยค่ะ ครูฟ้าจึงถามกลับแล้วเด็กๆคิดว่าเพราะอะไรค่ะ พี่ผู้หญิง บอกว่า เราจะได้ทำเองค่ะ และเราก็จะรู้ว่าการสานตาข่ายทำอย่างไร ครูฟ้าว่า ขณะที่ทำเด็กๆรู้สึกอย่างไร หนูเจ็บนิ้วค่ะ เหนื่อยค่ะ ผมว่ามันก็สนุกดีนะครับ ทำขายดีไหมครับ เพื่อนๆพากันหัวเราะ นอกจากเด็กๆจะได้สานตาข่ายล้อมเล้าไก่ เด็กๆยังได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคที่เกิดขึ้นกับไก่พื้นเมือง ถ่ายทอดความเข้าใจผ่าน Mind Mapping อีกทั้งยังได้พูดคุยเกี่ยวกับความแตกต่างของไก่พันธุ์พื้นเมืองกับไก่ฟาร์ม เด็กๆมีความเข้าใจในเรื่องนี้พอสมควร เช่นพี่แพรวจะมีความรู้เรื่องสารเร่งการเจริญโต การเลี้ยงดูที่เป็นระปิด และอีกหลายๆคน ที่มีความเข้าใจเรื่องการฟักเร็วหรือช้า ของไก่แต่ละประเภท ทุกๆสัปดาห์ชั่วโมงสุดท้ายครูและเด็กๆจะได้พูดคุย สิ่งที่ได้เรียนรู้มีอะไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง จากนั้นแต่ละคนก็ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 6
    เนื่องจากเล้าไก่ยังไม่เสร็จ ในวันศุกร์ผู้ปกครองและเด็กๆจึงได้ช่วยกับทำเล้าไก่ต่อ ขอบคุณทุกความตั้งใจของผู้ปกครองที่น่ารักค่ะ

    ตอบลบ