เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 7


Understanding  Goal : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการดูแลเล้า และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมืองกรณีทีเกิดโรคระบาด   อีกทั้งยังสามารถทำยาสมุนไพรรักษาไก่ที่มีอาการของ
โรคนั้นๆได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
7
(22-27 มิ.ย 57)
โจทย์ : สมุนไพร
Key Questions:
- นักเรียนคิดว่าสมุนไพร สามารถรักษาไก่พันธุ์พื้นเมือง ที่เป็นโรคได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
- เด็กๆรู้ได้อย่างไรว่าเรากินผัก และผลไม้ในซุปเปอร์มาเก็ตแล้วปลอดภัย
- เมื่อไก่เป็นโรคระบาด นักเรียนจะดูแล้วเล้าไก่ ไก่ และอาหารอย่างไร เพราะเหตุใด
Backboard share : ระดมความคิดเกี่ยวกับสมุนไพร รักษาโรคของไก่พันธุ์พื้นเมือง
Round Rubin : ระดมความคิดเกี่ยวกับผัก และผลไม้ในซุปเปอร์มาเก็ต
Show and Share นำเสนอ Shot note
Wall Thinking : Shot note
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ไก่พื้นเมือง
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
วันจันทร์
ชง
ครูพานักเรียนเดินสำรวจสมุนไพรที่มีในโรงเรียน
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนคิดว่าสมุนไพร สามารถรักษาไก่พันธุ์พื้นเมือง ที่เป็นโรคได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคต่างๆ ผ่านเครื่องมือคิด Backboard share จากนั้น แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถนำมารักษาโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้
- ทำยาสมุนไพรรักษาโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
- ทดลองใช้จริงกับไก่พันธุ์พื้นเมือง ที่มีอาการของโรคนั้นๆ
วันอังคาร
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า เด็กๆรู้ได้อย่างไรว่าเรากินผัก และผลไม้ในซุปเปอร์มาเก็ตแล้วปลอดภัย
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับผัก และผลไม้ในซุปเปอร์มาเก็ต
ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin จากนั้น แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการดูแลผัก ผลไม้ให้สามารถรับทานได้นาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้
- นักเรียนนำผลไม้มาโรงเรียนคนละ 1 อย่าง สังเกต บันทึกสิ่งที่เปลี่ยนแปลง
วันพุธ
ชง 
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า เมื่อไก่เป็นโรคระบาด นักเรียนจะดูแล้วเล้าไก่ ไก่ และอาหารอย่างไร เพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการดูแล เล้าไก่ ไก่ และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- ทำ Shot note เกี่ยวกับการดูแล เล้าไก่ และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- นำเสนอ Shot note เกี่ยวกับการดูแล เล้าไก่ และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7
ชิ้นงาน
- ยาสมุนไพรรักษาโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมือง
- Shot note เกี่ยวกับการดูแล เล้าไก่ และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้รักษาโรค
- สำรวจสมุนไพรที่มีในโรงเรียน
- ทดลองใช้ยาสมุนไพรกับไก่พันธุ์พื้นเมือง

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับสรรพคุณของ
สมุนไพรแต่ละอย่างและสามารถทำยาสมุนไพรในการรักษาไก่ที่มีอาการของโรคนั้นๆได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำยาสมุนไพรรักษาโรคที่เกิดกับไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น สมุนไพรต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาทำยารักษาโรคไก่พันธุ์พื้นเมือง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบทำยาสมุนไพรรักษาไก่พื้นเมืองให้น่าสนใจได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ Shot note เกี่ยวกับการดูแล เล้าไก่ และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมืองให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรในการรักษาไก่ที่มีอาการของโรคนั้นๆได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์






ตัวอย่างกิจกรรม












1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 7 เด็กๆเริ่มทยอยนำไก่พื้นเมืองมาเลี้ยงที่โรงเรียน นำไก่มาวันแรกก็เกิดปัญหาทันที เนื่องจากไก่พื้นเมืองมีลักษณะการอยู่และกินที่แตกต่างจากไก่พันธุ์ไข่คือ บินได้สูงและชอบหาอาหารกินตามธรรมชาติพอถึงตอนเย็นจะกลับมาที่เล้า เจอปัญหาอย่างนี้ครูฟ้าและพี่ป.5 จึงได้พูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนและหาทางแก้ปัญหาอย่างเร่งด้วย ปัญหาแรกที่ต้องทำคือ ไก่ที่เด็กๆนำมาเลี้ยงยังไม่คุ้นเคยกัน เด็กๆจะมีวิธีการจัดการอย่างไร พี่โจ บอกว่า ให้ไก่ได้อยู่ในเล้าด้วยกันแต่ถ้าไก่ตีกันก็จับใส่ซุ่มก่อนครับ พี่ครัช บอกว่าปล่อยตามธรรมชาติเดี๋ยวก็คุ้นกันครับ ปัญหาที่เจออีกคือ เนื่องจากที่โรงเรียนมีสุนัข แมว งูและสัตว์อื่นๆเด็กๆจะดูแลไก่อย่างไร พี่ป.5 จึงแก้ปัญหานี้คือ จะเปิดเล้าไก่ตอน 7:30น. – 15:30 น. และปิดเล้าไก่ก่อน 16:00 น. อีกปัญหาที่ครูพบเจอและได้พูดคุยกับเด็กๆคือ ครูสังเกตเห็นว่าเด็กๆนำไก่มาเลี้ยงที่โรงเรียนในช่วงที่เด็กๆว่างเด็กๆจะไปดูแลไก่ของตนเองและจับไก่ของตนเองให้ชนกับไก่เพื่อน ครูและเด็กๆจึงทบทวนเป้าหมายของการเรียนโครงงานนี้และการเลี้ยงไก่อีกครั้ง เด็กๆเข้าใจเป้าหมายของการเรียนและการเลี้ยงได้ครั้งนี้และปัญหานี้ก็เริ่มลดลงและเมื่อเด็กๆจะทำเด็กๆก็ตระหนักได้ว่าเลี้ยงไก่เพื่ออะไร นอกจากเด็กๆจะเข้าใจเป้าหมายของการเลี้ยงไก่แล้วเด็กๆยังสามารถเชื่อมโยงถึงการเกิดโรคในไก่และการที่คนเป็นโรคได้อีกด้วย
    กิจกรรมที่เกิดขึ้นในสัปดาห์นี้ ครูพานักเรียนเดินสำรวจสมุนไพรที่มีในโรงเรียน ครูคอยกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนคิดว่าสมุนไพร สามารถรักษาไก่พันธุ์พื้นเมือง ที่เป็นโรคได้หรือไม่ เพราะเหตุใด สมุนไพรในโรงเรียนที่เด็กๆรู้จักมีอะไรบ้าง เด็กๆส่วนใหญ่จะรู้จักแต่ชื่อสมุนไพรแต่ไม่รู้ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร สรรพคุณของสมุนไพรนั้นๆได้รักษาโรคอะไรได้บ้าง เด็กๆจึงข้อมูลเกี่ยวกับสมุนไพรและศึกษาลักษณะ สรรพคุณของสมุนไพรนั้นๆ เมื่อหาข้อมูลเสร็จเด็กๆนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความเข้าใจลงในกระดาษ A3 นำเสนอให้ครูและเพื่อนๆฟัง เพื่อนช่วยเพิ่มเติมในส่วนที่แตกต่างกัน วันต่อมาเด็กๆจึงได้ทดลองทำสมุนไพรรักษาโรคที่เกิดกับได้ โดยคิดสูตรของตนเอง ทำเสร็จแบ่งให้เพื่อนๆไปใช้ที่บ้าน ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า เมื่อไก่เป็นโรคระบาด นักเรียนจะดูแล้วเล้าไก่ ไก่ และอาหารอย่างไร เพราะเหตุใด กิจกรรมนี้เด็กๆได้แบ่งกลุ่ม และระดมความคิดเพื่อนฟังเพื่อนและช่วยกันเพิ่มเติมทุกคนได้คิดและได้ทำ จากนั้นสรุปสิ่งที่ทุกคนในกลุ่มเสนอลงผ่าน ชาร์ตความรู้ นำเสนอให้ครูและเพื่อนๆกลุ่มอื่นได้ฟัง เช่น เมื่อเกิดโรคระบาด สำหรับกลุ่มพี่แจ๊บ จะทำความสะอาดเล้าไก่ ไก่ที่โรคกำจัดและแจ้งให้น้องๆพี่ๆที่โรคเรียนได้รู้ครับ กลุ่มพี่พุทธ ต้องดูแลเรื่องอาหารไก่ใหม่ เพราะอาจจะเกิดจากอาหารก็ได้ครับ ชั่วโมงสุดท้ายครูและเด็กๆจะได้พูดคุย สิ่งที่ได้เรียนรู้มีอะไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง จากนั้นแต่ละคนก็ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 7

    ตอบลบ