เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 4

Understanding  Goal : นักเรียนสามารถวางแผน ออกแบบที่ฟักไข่ไก่พันธุ์พื้นเมือง อีกทั้งยังเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับการเกิดของไก่พันธุ์พื้นเมืองได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
4
(2-6 มิ.ย 57)
โจทย์ : ที่ฟักไข่
Key Questions :
- ที่ฟักไข่จะส่งผลต่อการฟักไข่(การเกิด)ของไก่หรือไม่เพราะเหตุใด
- ถ้านักเรียนต้องออกแบบที่ฟักไข่เองนักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด
- ไม่มีเล้าไก่ เด็กๆจะให้ลูกเจี๊ยบอยู่อย่างไร
ชักเย่อความคิด : ที่ฟักไข่จะส่งผลต่อการฟักไข่(การเกิด)ของไก่หรือไม่เพราะเหตุใด
Round Rubin : ระดมความคิดเกี่ยวกับการทำที่ฟักไข่
Show and Share นำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ผู้ปกครอง อำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูล
- ที่ฟักไข่ในห้องเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ บรู๊ฟ
- กระดาษ A4
วันจันทร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด ที่ฟักไข่จะส่งผลต่อการฟักไข่(การเกิด)ของไก่หรือไม่เพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการฟักไข่โดยใช้ตู้ฟัก หลังจากสนทนาเสร็จนักเรียนชักเย่อความคิด เกี่ยวกับที่ฟักไข่จะส่งผลต่อการฟักไข่(การเกิด)ของไก่หรือไม่เพราะเหตุใด ( มีผล  เฉยๆ ไม่มีผล) เพราะเหตุใด
- แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นคู่ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
นำเสนอสิ่งที่ได้มา เพื่อนแต่ละกลุ่มเสนอเพิ่มเติมในส่วนที่ต่างกัน
ใช้
นักเรียนสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมือง จากนั้นสรุปสิ่งที่ ผ่านการ Shot note
วันอังคาร
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ถ้านักเรียนต้องออกแบบที่ฟักไข่เองนักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการทำที่ฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
- แบ่งนักเรียนเป็นคู่ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำที่ฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
นำเสนอสิ่งที่ได้มา เพื่อนแต่ละคู่เสนอเพิ่มเติมในส่วนที่ต่างกัน
ใช้
แต่ละคู่วางแผน ออกแบบลงในกระดาษ A4 แบ่งหน้าที่เตรียมอุปกรณ์ในการทำที่ฟักไข่ในวันพรุ่งนี้
วันพุธ
ใช้
- แต่ละคู่ลงมือทำที่ฟักไข่และหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการวางที่ฟักไข่
- เก็บกวาดทำความสะอาดหลังจากทำงานเสร็จ
วันศุกร์
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ไม่มีเล้าไก่ เด็กๆจะให้ลูกเจี๊ยบอยู่อย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการดูแลลูกเจี๊ยบ
- แบ่งกลุ่มนักเรียนโดยแต่ละกลุ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่ และอาหารของลูกเจี๊ยบ
- แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้จากการไปศึกษา ครูและเพื่อนๆเพิ่มเติมในส่วนที่คิดต่างกัน
- นำเสนอชาร์ตความรู้
- ครูและนักเรียนร่วมทบทวนสิ่งที่เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้
- ทำชาร์ตความรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกเจี๊ยบ เช่นอาหาร ที่อยู่
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4
ชิ้นงาน
- ที่ฟักไข่
- Shot note
- ชาร์ตความรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกเจี๊ยบ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- สอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
- วางแผน ออกแบบทำที่ฟักไข่
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมืองและการดูแลลูกเจี๊ยบเช่น ที่อยู่ อาหาร
 - สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของไข่ในที่ฟักทุกวัน
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อการฟักไข่(เกิด)ของไก่ได้ รวมทั้งสามารถออกแบบวางแผนที่ฟักไข่ไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
ทักษะ :
 ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำที่ฟักไข่ให้กับลูกเจี๊ยบได้
- ประดิษฐ์ออกแบบที่ฟักไข่ได้
- ใช้อุปกรณ์ในการทำงานและเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอการทำที่ฟักไข่ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิด การกินของไก่พื้นเมืองในการทำที่ฟักไข่ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ออกแบบที่ฟักไข่ของไก่พื้นเมือง
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการฟักไข่ของไก่พื้นเมืองได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์



ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้








1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้ พี่ๆป. 5 ได้วางแผน ออกแบบที่ฟักไข่ ให้เป็นลูกเจี๊ยบภายใน 14 วัน โดยแต่ละคู่ได้เตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำที่ฟักไข่มาตามที่ได้แบ่งหน้าที่กันไว้ เช่น คู่ของพี่พุทธและพี่วิวร์ พี่พุทธจะเตรียมที่ฟักไข่ พี่วิวร์เตรียมไข่ สำหรับฟัก ปัญหาของทั้งสองคนคือ พี่พุทธ บอกว่า ครูฟ้าครับ เพื่อนนำไข่ที่ซื้อมาจากตลาดครับ ผมคิดว่ามันคงจะไม่ฟักเป็นลูกเจี๊ยบแน่ๆครับ ครูฟ้า บอกว่า ทำไมถึงคิดว่าไข่ที่ขายตามท้องตลาดจะไม่ฟักค่ะ พี่พุทธ บอกว่า เป็นไข่ของไก่พันธุ์ไข่ครับ เอาไว้ทำอาหารทานครับ ครูฟ้า บอกว่า แล้วผมจะแก้ปัญหานี้อย่างไร พี่พุทธ บอกว่า หามาใหม่ครับ นอกจากคู่นี้ยังมีอีกคู่เช่น คู่ของพี่ภูมิ พี่ภูมิจะต้องเตรียมหลอดไฟมา แต่หลอดไฟที่เตรียมมาแตก แก้ปัญหาโดยการยืมหลอดไฟของคุณครูก่อนแล้วพรุ่งนี้จะเอามาเปลี่ยน คู่ของ พี่สตางค์ พี่สตางค์เตรียมปิ๊บมาแต่ปิ๊บเล็กเกินไป เมื่อให้ความร้อนปิ๊บจะร้อนมาก จึงแก้ปัญหาโดยการไปขอกล่องลังกับคุณป้า
    2 วันต่อมา กลุ่มพี่แม็คและพี่โจ ไข่สามารถฟักเป็นลูกเจี๊ยบได้ เพื่อนๆตื้นเต้นมาก ตอนที่พี่โจบอกว่า ได้ยินเสียงของลูกเจี๊ยบด้วย ตอนนั้นเองทุกคนวิ่งไปที่ ที่ฟักไข่กลุ่มพี่โจ เด็กๆสังเกตเห็นรอยร้าวที่เปลือกไข่ ผ่านรอยร้าวนั้นมีเสียงของลูกเจี๊ยบ ร้องเจี๊ยบๆๆ สักพักไข่เริ่มแตกทีละเล็กที่ละน้อยจนมองเห็น ปากไก่ ตาของไก่ และส่วนหัวทั้งหมด ตอนนี้เด็กๆบอกว่าเปลือกไข่บริเวณก้นยังไม่หลุดเลย จะทำยังไงดี มีพี่คนหนึ่งพูดขึ้น รอดูก่อน อย่าพึงทำอะไรเดี๋ยวมันก็จะหลุดเอง ผ่านไปสักพักลูกเจี๊ยบตัวแรก ก็มองเห็นโลกกว้าง มองเห็นเด็กๆ ได้ยินเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม ของเด็กๆ น้องป.4 และพี่ๆป.6 ทยอยเข้าห้องพี่ป.5 ชื่นชม ซักถาม เฝ้าคอยที่จะได้เห็นลูกเจี๊ยบอีก เพื่อนๆเมื่อเห็นกลุ่มของเพื่อนสามารถฟักเป็นลูกเจี๊ยบได้ จึงมีความหวังว่ากลุ่มของเราก็น่าจะฟักได้เช่นกัน เด็กๆ มีเวลาว่างทุกครั้งเด็กๆจะสังเกต ดูแลที่ฟักของตนเองตลอดเวลา ตรวจเช็คอุณหภูมิสม่ำเสมอ คุณครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า มีลูกเจี๊ยบอยู่เพียง 1 ตัว เด็กๆจะทำอย่างไร
    พี่แม็ค บอกว่าหาอาหารมาให้ลูกเจี๊ยบและต้องทำให้ลูกเจี๊ยบคุ้นกับคนครับ ครูฟ้าถามต่อว่า ไม่มีเล้าไก่ เด็กๆจะให้ลูกเจี๊ยบอยู่อย่างไร เด็กๆระดมความคิดจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เกี่ยวกับ ที่อยู่ อาหาร ของลูกเจี๊ยบ สรุปสิ่งที่ได้ ผ่านชาร์ตความรู้ นำเสนอให้ครูและเพื่อนๆฟัง ชั่วโมงสุดท้ายของสัปดาห์ เด็กๆและครูพูดคุยสนทนาทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้มาตลอดทั้งสัปดาห์ ปัญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้นเด็กๆแก้ปัญหาอย่างไร และเราจะทำอะไรต่อในสัปดาห์หน้า สุดท้ายนักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 4

    ตอบลบ