เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 10


Understanding  Goal : นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคตได้อย่างมีเหตุผลผ่านภาพวาด ละครและบทความ
Week
Input
Process
Output
Outcome
10
(15-17 .. 57)
โจทย์ : ไก่พื้นเมืองในอนาคต
Key Questions:
- นักเรียนคิดว่าไก่พื้นเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
Backboard share : ระดมความคิดเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคต
Round Rubin : ระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาของไก่พื้นเมืองในอนาคต
Show and Share นำเสนอ บทความไก่พื้นเมืองในอนาคต
Wall Thinking ภาพวาดไก่พื้นเมืองในอนาคต
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4, A3
วันอังคาร
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิดว่าไก่พื้นเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
 เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคตผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- แบ่งนักเรียนเป็น 12 กลุ่มแต่ละกลุ่มออกแบบไก่พื้นเมืองในอนาคต    ลงบนกระดาษA3
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มวาดภาพไก่พื้นเมืองในอนาคต ลงบนกระดาษ 80 ปอนด์
วันพุธ
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
นักเรียนคิดว่าบทความที่ดีและน่าสนใจน่าจะเป็นอย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการเขียนบทความ
ใช้
- นักเรียนแต่ละคนเขียนบทความไก่พื้นเมืองในอนาคต
- ซ้อมละคร
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- ทำเห็ดฟาง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10
ชิ้นงาน
- ภาพวาด เกี่ยวไก่พื้นเมืองในอนาคต
- เขียนบทความไก่พื้นเมืองในอนาคต
- ละคร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการแนวโน้มของไก่พื้นเมืองในอนาคตได้
- นำเสนอบทความ เกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคตได้
- ซ้อมละคร

ความรู้
เข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในอนาคตได้อย่างมีเหตุผลผ่านภาพวาด ละครและบทความได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำเห็ดฟางได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กระดาษ กรรไกร ต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของไก่พื้นเมืองในอนาคตได้

ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การทำเห็ดฟางจากก้อนเห็ดเก่าได้ ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ บทความ เกี่ยวไก่พื้นเมืองในอนาคตให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของไก่พื้นเมืองใน
อนาคตได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น


หมายเหตุ วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2557 หยุดชดเชยวันเข้าพรรษา



ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ตัวอย่างบทความไก่พื้นเมืองในอนาคต



ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้








1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์สร้างสรรค์ สัปดาห์แห่งจินตนาการ ปัจจุบันส่งผลถึงอนาคต โจทย์ใหญ่ของเด็กๆสัปดาห์นี้ ไก่พื้นเมืองในอนาคตจะเป็นอย่างไร ให้เด็กๆถ่ายทอดผ่าน บทความ และภาพวาด ก่อนที่เด็กๆจะได้ทำงาน ครูและเด็กๆได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองในปัจจุบัน จนเด็กๆมองภาพกว้างสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยขั้นนี้ครูจะไม่เร่งรีบในการสนทนา แต่ครูจะค่อยกระตุ้นการคิดและเอื้ออำนวยเพื่อให้เด็กๆได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าเมื่อเด็กๆมีความเข้าใจและกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นเด็กๆก็จะไปสู่การสร้างสรรค์และต่อยอดได้ จากนั้นเด็กๆก็ขึ้นทำงาน พี่แม็ค ถามว่าทำไมต้องร่างก่อนครับ ทำแผ่นจริงเลยได้ไหมครับ ครูฟ้าถามกลับว่าแล้วเพราะอะไรครูฟ้าถึงให้พี่ๆร่างก่อนค่ะ พี่ครัชบอกว่า เพราะเราสามารถเขียนใหม่ได้ถ้าเขียนผิดครับ พี่แจ๊บ เพราะเมื่อร่างเสร็จแล้วเราเขียนแผ่นใหม่จะได้ไม่มีคำผิดครับ นอกจากการเขียนบทความและวาดภาพไก่พื้นเมืองในอนาคตแล้วพี่ๆป.5 ยังมีกิจกรรมที่เตรียมอุปกรณ์ไว้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 คือการทำเห็ดฟาง ซึ่งอุปกรณ์ทุกอย่างครบแล้ว เด็กๆจึงได้เริ่มทำเห็ดฟาง แต่ก่อนที่จะทำครูได้ทบทวนขั้นตอนและการดูแลเห็ดฟาง พร้อมทั้งสร้างข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน เด็กๆแต่ละคนทำงาน ขณะที่ทำงาน มีพี่ผู้ชายคนหนึ่งถามขึ้นว่า ครูฟ้าเป็นอะไรครับ เหนื่อยหรอครับ ครูฟ้าถามเด็กๆกลับว่า เด็กๆได้กลิ่นเหมือนครูฟ้าไหม เด็กๆ บอกว่าได้กลิ่นครับ กลิ่นมาจากก้อนเชื้อเห็ดฟางครับ ครูฟ้าบอกเด็กๆว่า เด็กๆรู้ไหมตอนนี้ครูฟ้าปวดหัวมาก เหมือนจะอาเจียน ครูฟ้าขอนั่งพักก่อนนะค่ะ เด็กๆ บอกว่าผมก็เริ่มจะปวดหัวเหมือนกันครับ แต่เหตุการณ์นี้ก็ผ่านไปได้ ทุกคนทำกิจกรรมจนเสร็จและช่วยกันทำความสะอาดร่มไผ่ ให้อยู่ในสภาพเดิม ในช่วงที่ว่างพี่ๆป.5 เตรียมละครสำหรับนำเสนอในสัปดาห์ที่ 11 ชั่วโมงสุดท้ายของสัปดาห์ครูและเด็กๆจะได้พูดคุย สิ่งที่ได้เรียนรู้มีอะไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และสัปดาห์หน้าเราจะทำอะไรต่อ จากนั้นแต่ละคนก็ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 10

    ตอบลบ