เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 8


Understanding  Goal : นักเรียนเข้าใจและสามารถสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่า อีกทั้งยังสามารถทำอาหารให้ไก่พื้นเมืองโดยใช้ต้นทุนที่มีอยู่จำกัดได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
(30 มิ.ย - 4 .. 57)
โจทย์ : ก้อนเห็ดเก่าจำนวนมาก
Key Questions:
- ก้อนเห็ดที่เรามีอยู่จะทำให้เกิดประโยชน์หรือสร้างมูลค่าได้อย่างไร
- นักเรียนจะทำอาหารไก่พื้นเมืองโดยใช้ต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างไร
Backboard share : ระดมความคิดเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าก้อนเห็ดเก่า
Round Rubin : ระดมความคิดเกี่ยวกับการทำอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง
Show and Share นำเสนอ ชาร์ตความรู้
Wall Thinking ชาร์ตความรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ก้อนเห็ดเก่า
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
วันจันทร์
ชง
ครูพานักเรียนเดินสำรวจก้อนเห็ดที่มีในโรงเรียน
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ก้อนเห็ดที่เรามีอยู่จะทำให้เกิดประโยชน์หรือสร้างมูลค่าได้อย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับก้อนเห็ดเก่า ผ่าน เครื่องมือคิด 
Backboard share จากนั้น แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าก้อนเห็ดเก่า
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้
- ออกแบบวางแผน เตรียมอุปกรณ์ สร้างมูลค่าก้อนเห็ดเก่า ผ่านชาร์ตความรู้
วันอังคาร
เชื่อม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชาร์ตความรู้ ครูและเพื่อนๆช่วยเพิ่มเติม
- ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเชื้อเห็ดฟาง
ใช้
- นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ในการทำเห็ดฟาง เช่น ตะกร้า ขี้เลื่อย ฟาง เลือกก้อนเห็ดเก่า
- สำรวจ ติดต่อซื้อเชื้อเห็ดฟาง
วันพุธ
ชง 
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนจะทำอาหารไก่พื้นเมืองโดยใช้ต้นทุนที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างไร เพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการทำอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- ออกแบบวางแผน เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำอาหารไก่พื้นเมือง
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- ทำอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8
ชิ้นงาน
- อาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง
- ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการการสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดก้อน
- สำรวจก้อนเห็ดเก่า
- ทดลองทำอาหารไก่พื้นเมือง

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่าและสามารถทำอาหารไก่พื้นเมืองที่มีต้นทุนจำกัดได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำอาหารไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
- สร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่าได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กระดาษ กรรไกร ต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำก้อนเห็ดเก่ามาสร้างมูลค่า
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบทำอาหารไก่พื้นเมืองที่มีต้นทุนจำกัดได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการออกแบบ วางแผนสร้างมูลค่าก้อนเห็นเก่าให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับก้อนเห็ดเก่า อาหารของไก่พื้นเมืองได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 8 ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม ก้อนเห็ดเก่าที่เรามีอยู่จะทำให้เกิดประโยชน์หรือสร้างมูลค่าได้อย่างไร เด็กๆเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เช่นพี่น็อต บอกว่าสามารถนำไปทำเห็ดตะกร้าได้ครับ พี่แม็ค บอกว่า ขายต่อเอาเงินมาลงทุนใหม่ครับ พี่ตะวัน บอกว่าเก็บบางก้อนที่เกิดเห็ดไว้ต่อได้ครับ พี่เช็ค บอกว่าเป็นปุ๋ยใส่แปลงผักครับ ครูถามต่อว่าและพี่ๆจะทำอย่างไร เด็กๆจะข้อมูลเพิ่มเติมอะไรบ้าง จะออกแบบและวางแผนอย่างไร จากนั้นครูแบ่งกลุ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าของก้อนเห็ดเก่า เด็กๆไปหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต ถามคุณครู แชร์ความคิดเห็นกับเพื่อนในกลุ่ม โดยครูมีเวลาให้ 30 นาที หลังจากที่เด็กๆไปหาข้อมูลกลับมารวมนั่งวงกลมเพื่อนำเสนอสิ่งที่ได้ไปศึกษามา ทุกกลุ่มเลือกทำเห็ดตะกร้า ซึ่งครูรู้สึกแปลกใจว่าทำไมทุกกลุ่มถึงเป็นเห็ดตะกร้า ทั้งๆที่ครูไม่ได้ให้ไปหาการทำเห็ดตะกร้าเลย ครูจึงถามเด็กๆกลับว่าเพราะอะไรถึงเป็นเห็ดตะกร้า เป็นอย่างอื่นได้ไหม เด็กๆหลายคนให้เหตุผลว่าจะได้ทำเห็ดฟางและนำไปขาย หลังจากพูดคุยเสร็จ มีพี่ผู้หญิงคนหนึ่งถามว่า เราจะหาเชื้อเห็ดฟางได้อย่างไรค่ะ และเด็กๆจะทำอย่างไรถึงจะได้เชื้อเห็ดฟาง พี่ตะวัน บอกว่า ซื้อครับ เมื่อพูดคุยเสร็จเด็กๆได้สรุปความเข้าใจอีกครั้งผ่าน ชาร์ตความรู้ ซ้อมนำเสนอในกลุ่ม เพื่อเตรียมนำเสนอในวันพรุ่งนี้ ในวันอังคาร เด็กๆนำเสนองาน เพื่อนช่วยเพิ่มเติม หลังจากนำเสนอเสร็จเด็กๆวางแผนการเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำเห็ดฟาง ในพุธเด็กๆเริ่มนำอุปกรณ์มาไว้โรงเรียน ครูได้พูดคุยกับเด็กๆ ผ่านคำถามเช่น ไก่พื้นเมืองกินอะไรเป็นอาหารบ้าง และอะไรที่เด็กๆสามารถนำมาให้ไก่ที่โรงเรียนได้บ้างโดยไม่ต้องซื้อ พี่แดง บอกว่าใบไม้ค่ะไก่กินได้ พี่คอร์ด บอกว่าปลวก สัตว์เล็กๆไก่ก็กินครับ พี่โจ บอกว่ารำครับ พี่แบงค์ บอกว่าเศษผัก หรือข้าวเปลือกครับ ถ้าพี่ๆต้องทำอาหารให้ไก่กินพี่ๆจะทำอย่างไร เพื่อใช้ทุนน้อยที่สุด พี่น็อต บอกว่า นำสิ่งที่ทุกคนมีมาทำอาหารไก่และต้องให้ได้อยู่นานๆครับ ครูฟ้าถามต่อว่าและพี่ๆจะทำอย่างไร เพื่อที่อาหารไก่จะอยู่ได้นานๆ หลายคนบอกว่า ผสมอัดเม็ด ครูจึงถามต่อว่าเด็กๆจะอัดเม็ดอย่างไร เมื่อพูดคุยเสร็จเด็กๆหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำอาหารไก่พื้นเมือง จากนั้นวางแผนเตรียมอุปกรณ์ วันต่อมาเด็กๆเริ่มทำอาหารไก่ ตอนแรกครูและเด็กๆทบทวนและสร้างข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน พร้อมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เช่น มีด คุถัง น้ำ อื่นๆ จากนั้นทุกคนเริ่มทำอาหารไก่จากที่วางแผนไว้ สักพักก็มีปัญหาเกิดเมื่อถึงตอนที่เด็กๆคิดว่าจะทำให้เป็นเม็ด เด็กๆก็เจอว่า อาหารไก่ที่ผสมไม่เป็นเนื้อเดียวกันเมื่อจะทำเป็นเม็ดอาหารที่ผสมกับแตกหรือบางกลุ่มน้ำเยอะจนปันไม่ได้ เด็กๆจึงแก้ปัญหาโดยการทำเป็นแผ่นแทน หรือบางกลุ่มปันได้แต่ต้องปันให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติถึงจะทำได้ สุดท้ายก็ได้อาหารไก่ตามที่วางแผนไว้ เด็กๆใช้เวลาในการรอจนอาหารไก่แห้ง 1 สัปดาห์ เนื่องฝนตกทุกวัน ไม่มีแสงแดด อาหารไก่จึงแห้งช้า และเด็กๆยังเจอปัญหาอีกว่าช่วง 2-4 วันแรกอาหารไก่ส่งกินทั่วห้องเรียน พี่ๆป.5 ต้องถูกห้องทุกวันในตอนเช้า เมื่อถึงวันที่ 7 อาหารเริ่มแห้งและพร้อมสำหรับนำไปทดลองให้ไก่กินได้ อีกทั้งยังมีกลิ่นน้อยลงและสามารถนำไปให้ไก่กินได้ ชั่วโมงสุดท้ายของสัปดาห์ครูและเด็กๆจะได้พูดคุย สิ่งที่ได้เรียนรู้มีอะไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และสัปดาห์หน้าเราจะทำอะไรต่อ จากนั้นแต่ละคนก็ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 8

    ตอบลบ