เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2557 Topic:หน่วย ไก่จ๋า
เป้าหมาย(Understanding Goal):
1. เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศที่เชื่อมโยงกับผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย ที่จำเป็นต่างพึงพาและเกื้อกูลกัน
2. เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหาร รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อดีข้อเสียในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นได้อย่างมีวิจารณญาณ
3. เข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองเชิงระบบได้

Week 5

Understanding  Goal : นักเรียนเข้าใจและสามารถวางแผนออกแบบสร้างที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลได้

Week
Input
Process
Output
Outcome
5
(9-13 มิ.ย 57)
โจทย์ : เล้าไก่
Key Questions:
- เด็กๆจะออกแบบที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลได้อย่างไร
- เด็กๆจะทำอย่างไรถึงจะได้ปลวก เพื่อเป็นอาหารของไก่
-โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมืองทำหน้าที่อย่างไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
Round Rubin : ระดมความคิดเกี่ยวกับการสร้างเล้าไก่
Show and Share นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเล้าไก่
Wall Thinking ชาร์ตความรู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ผู้ปกครอง ช่วยแนะนำในการทำเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
- สมุดบันทึก
วันจันทร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่าเด็กๆจะออกแบบที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลได้อย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแล ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin จากนั้น แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการทำเล้าไก่พื้นเมือง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ก่อนสรุปข้อมูล ผ่าน ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการสร้างที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัย
วันอังคาร
ใช้
- นักเรียนและผู้ปกครองร่วมทำเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
- นักเรียนสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของไก่(ลูกเจี๊ยบ)ทุกๆวัน
วันพุธ
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า เด็กๆจะทำอย่างไรถึงจะได้ปลวก เพื่อเป็นอาหารของไก่
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับอาหารไก่(ปลวก) ผ่านเครื่องมือคิด 
Round Rubin จากนั้นหาข้อมูลเกี่ยวกับปลวก
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอShow and Share  ให้ครูและเพื่อนฟัง ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้
เด็กๆนำไม้มาจากบ้าน และสำรวจพื้นที่ในโรงเรียนที่เหมาะสมในการทำอาหารไก่พันธุ์พื้นเมือง(ปลวก)
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมืองทำหน้าที่อย่างไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับว่า โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
- นักเรียนแต่ละคนหาข้อมูลเกี่ยวกับว่า โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง
ใช้
- วาดภาพโครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง พร้อมบอกหน้าที่
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการสร้างที่อยู่ไก่ให้ปลอดภัย
- สมุดบันทึก
- เล้าไก่
- วาดภาพ โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างที่อยู่อาศัยให้และอาหารไก่พื้นเมือง
- ทำเล้าไก่รวมกับผู้ปกครอง
- ให้อาหารไก่(ลูกเจี๊ยบ)
- นำไม้มาจากบ้าน
- บันทึกการเปลี่ยนแปลง
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการทำปลวกจากไม้และ โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมือง
ความรู้
เข้าใจและสามารถวางแผนออกแบบสร้างที่อยู่ไก่พันธุ์พื้นเมืองให้ปลอดภัยและง่ายต่อการดูแลได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำอาหาร(ปลวก)ไก่พันธุ์พื้นเมืองจากไม้
ออกแบบเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
ได้อย่างน่าสนใจ
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเช่น ไม้ ทราย แกลบ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง
และอาหารไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเล้าไก่และการนำไม้มาทำปลวกเป็นอาหารไก่พื้นเมืองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบสร้างเล้าไก่พันธุ์พื้นเมือง และอาหาร
ไก่พันธุ์พื้นเมืองได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างเล้าไก่และการทำปลวกจากไม้ได้
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้









1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นอีกสัปดาห์ที่เด็กๆอยากให้มาถึงเร็วๆ เพราะพี่ๆป. 5 จะได้ออกแบบ วางแผน เล้าไก่ด้วยตนเอง พี่ทัศน์ บอกว่า ครูฟ้าครับ ผมอยากเลี้ยงไก่ แล้วครับ ผมให้แม่หาไก่ไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่รู้ว่าได้เรียนเรื่องไก่ ครับ เล้าไก่ของเราต้องทำให้เสร็จเร็วๆนะครับ ครูฟ้า บอกว่า ถ้าเราและผู้ปกครอง ช่วยกันครูฟ้าคิดว่าเราจะต้องได้เลี้ยงเร็วแน่ครับ ชั่วโมงแรก เด็กๆสงสัยทำไมครูถึงจับฉลากแบ่งกลุ่มให้พวกเรา 9 กลุ่มกลุ่มละ 3 คน จากนั้นครูก็มีโจทย์ให้แต่ละกลุ่ม เช่น จะออกแบบเล้าไก่ที่ทนฝนอย่างไร ทนความร้อนอย่างไร ดูทิศทางลมอย่างไร ให้ไก่สุขภาพแข็งแรงและมีความสุขอย่างไร เพราะเหตุใด ถึงเป็นเช่นนั้น พวกเราคิดหนักมากครับ ตอนแรกกลุ่มผม(กลุ่มพี่เช็ค) ก็ไปหาข้อมูล แต่ไม่ได้ข้อมูลครับ จึงกลับมานั่งคิดใหม่ แล้วเดินไปถามครูฟ้า ผมไม่มีข้อมูลครับ คิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไร ครูฟ้าถามกลับว่า กลุ่มพี่ได้โจทย์อะไรค่ะ พี่เช็คบอกว่า ออกแบบเล้าได้ที่ทำให้ ไก่สุขภาพแข็งแรงและมีความสุขอย่างไร ครูฟ้าถามต่อว่าการที่คนเราจะสุขภาพดีต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ พี่ตอบว่า พักผ่อนครับ กินอาหารที่มีประโยชน์ แล้วไก่จะสุขภาพดีได้อย่างไร สมมตินะ ถ้า ครูฟ้อยู่ในห้องที่เล็กๆกับคนหลายๆคนครูฟ้าจะสุขภาพดีไหม เพราะเหตุใด พี่เช็ค บอกว่า คิดออกแล้วครับ แต่ละกลุ่มกระตือรือร้นมาก ตั้งใจและทุกคนก็มีหน้าที่ชัดเจน ในวันต่อมาผู้ปกครองและเด็กๆได้ช่วยกันทำเล้าไก่ เด็กๆสนุก และมีความสุขกับกิจกรรมนี้มาก ครูฟ้าและเด็กๆได้พูดคุยเกี่ยวกับอาหารของไก่พื้นเมือง พี่แบงค์เสนอ เกี่ยวกับการนำปลวกมาเป็นอาหารของไก่ ครูจึงกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า เด็กๆจะทำอย่างไรถึงจะได้ปลวก เพื่อเป็นอาหารของไก่ พี่แบงค์ บอกว่า ขุดหลุมครับ จากนั้นนำไม้ลงไปในหลุมใช้ใบไม้ปิดปากหลุม แล้วรดน้ำทุกวันครับ พี่มีคนไหนมีความรู้เรื่องนี้อีกบ้างค่ะ พี่ตะวัน บอกว่า ไม่ต้องขุดก็ได้ครับ วางเรียงๆไว้ แล้วใช้ใบไม้ทับ รดน้ำด้วยครับ นานไหมเด็กๆคิดว่าถึงจะเป็นปลวก หลายคนตอบขึ้นว่า น่าจะนานครับ/ค่ะ (ตอนนี้เด็กกำลังเตรียมไม้สำหรับทำปลวก) เมื่อได้ไม้ตามที่วางแผนไว้ เด็กๆก็จะเริ่มทำค่ะ ในวันศุกร์ ครูและเด็กๆได้พูดคุยเรื่องเล้าไก่ ที่ตอนนี้ยังไม่เสร็จ เด็กๆคิดว่าเพราะอะไร พี่น็อต บอกว่า ไม้ไม่พอครับ ตะปูตอกสังกะสีก็หมดครับ แล้วเด็กๆคิดว่าเราจะต้องทำอย่างไรค่ะ พี่ตะวัน บอกว่าเตรียมไม้ครับแล้วทำต่อสัปดาห์หน้า ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามต่อว่า โครงสร้างภายนอกและภายในของไก่พื้นเมืองทำหน้าที่อย่างไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จากนั้น พี่ๆแต่ละคนเสนอความคิดเห็น เพื่อนช่วยเพิ่มเติม และเด็กๆหาข้อมูลเพิ่ม จากแหล่งเรียนเรียนรู้ต่างๆ สรุปสิ่งที่ได้ลงบนกระดาษ A4
    ชั่วโมงสุดท้ายของสัปดาห์ ได้ทบทวนสิ่งที่เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์ ปัญหา/อุปสรรคต่างๆ การแก้ปัญหา รวมถึงสิ่งที่จะทำต่อในสัปดาห์หน้า และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5

    ตอบลบ