Understanding Goal : นักเรียนเข้าใจความหลากหลายของอาหารและสามารถทำอาหารเกี่ยวกับไก่พื้นเมืองให้น่ารับประทานและยังคงคุณค่าได้ อีกทั้งยังใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมและถูกหลักโภชนาการในการทำอาหาร
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
9
(7-11
ก.ค. 57)
|
โจทย์ : อาหาร
Key Questions:
- นักเรียนจะคิดเมนูอาหารไก่พื้นเมืองให้น่ารับประทานและยังคงคุณค่าได้อย่างไร
- ตอนเย็นเด็กๆจะต้องกลับบ้าน
เด็กๆจะดูแลไก่อย่างไร
- ไก่ที่เลี้ยงบินออกจากตาข่ายทุกวันเด็กๆจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น
- เด็กๆจะป้องกันสุนัข
แมว งูและสัตว์อื่นๆได้อย่างไร
Backboard share :
ระดมความคิดเกี่ยวกับเมนูอาหารจากไก่พื้นเมือง
Round Rubin : ระดมความคิดเกี่ยวกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่วัน
Show and Share : นำเสนอ shot note การทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
Wall Thinking : shot note การทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ตาข่าย
- ไก่พื้นเมือง
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ A4
|
วันจันทร์
ชง
ครูพานักเรียนเดินสำรวจเล้าไก่พื้นเมือง(เล้าไก่พื้นเมืองที่นักเรียนทำเอง)
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
- เห็นอะไร
- รู้สึกอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าเราจะต้องทำอย่างไร
เพราะเหตุใด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเล้าไก่พื้นเมืองที่นักเรียนสร้างเอง ผ่าน เครื่องมือคิด Round Rubin จากนั้น แบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเมนูอาหารไก่พื้นเมือง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอShow
and Share ให้ครูและเพื่อนฟัง
ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม
ใช้
- ออกแบบวางแผน
เตรียมอุปกรณ์ ทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง ผ่าน Shot note
วันอังคาร
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
- ตอนเย็นเด็กๆจะต้องกลับบ้าน
เด็กๆจะดูแลไก่อย่างไร
- ไก่ที่เลี้ยงบินออกจากตาข่ายทุกวันเด็กๆจะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น
- เด็กๆจะป้องกันสุนัข
แมว งูและสัตว์อื่นๆได้อย่างไร
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยสนทนาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเอง
ผ่าน
เครื่องมือคิด Round
Rubin จากนั้นสร้างข้อตกลงก่อนทำกิจกรรม ร่วมกับผู้ปกครอง
ใช้
- นักเรียนและผู้ปกครองปรับปรุงเล้าไก่พื้นเมือง
เช่น ประตู การล้อมตาข่าย อื่นๆ
วันพุธ
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
นักเรียนจะทำน้ำยาไก่พื้นเมืองให้น่ารับประทานและคงคุณค่าได้อย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับการการทำน้ำยาขนมจีนจากไก่พื้นเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- แต่ละกลุ่มทำน้ำยาขนมจีน
จากไก่พื้นเมืองตามที่วางแผนไว้
วันศุกร์
ชง
ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า
ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้าง
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
เชื่อม
ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมาตลอดทั้งสัปดาห์
ผ่านเครื่องมือคิด Round Rubin
ใช้
- ทำเห็ดฟาง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่
9
|
ชิ้นงาน
- น้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
- shot note การทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการเมนูอาหารไก่พื้นเมือง
- สำรวจเล้าไก่พื้นเมืองที่นักเรียนสร้างเอง
- ทดลองทำน้ำยาขนมจีนจากไก่พื้นเมือง
|
ความรู้
- เข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของอาหาร(ไก่พื้นเมือง)เห็นความเชื่อมโยงของคนและไก่พื้นเมือง
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมืองได้
- ทำเห็ดฟางได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
เช่น กระดาษ กรรไกร ต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีน
จากไก่พื้นเมืองให้น่าสนใจและคงคุณค่าทางอาหารได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การทำน้ำยาขนมจีน
จากไก่พื้นเมืองให้น่าสนใจและคงคุณค่าทางอาหารได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ shot note การทำน้ำยาขนมจีน จากไก่พื้นเมือง
ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับเมนูของไก่พื้นเมืองได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้
กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม
อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
|
สัปดาห์ที่ 9 เด็กๆกับอาหารเป็นของคู่กัน ยิ่งเป็นอาหารที่ทำเองเด็กๆยิ่งตื่นเต้น นอกจากจะทำกินเองแล้วเด็กๆยังต้องการเปิดตลาด เพื่อหารายได้เข้าห้องเรียนอีกทาง
ตอบลบครูรู้สึกชื่นชมและกระตือรือร้นกับเด็กๆมาก แต่ครูก็มีโจทย์ให้เด็กได้คิดต่อ ผ่านคำถามเช่น นักเรียนจะทำน้ำยาขนมจีนจากไก่พื้นเมืองให้น่ารับประทานและคงคุณค่าได้อย่างไรโดยไม่ใส่ผงชูรส หลังจากครูถามเสร็จ เสียงดังขึ้นทั้งห้อง เช่น แล้วเราจะทำอย่างไร เพื่อนจะกินได้ไหม, ไม่อร่อยแน่ๆ, เคยแต่กินไม่เคยทำและ บางคนก็พูดว่าแบ่งกลุ่มเลยครับอยากทำแล้วครับ เป็นต้น ครูปล่อยให้เด็กๆได้พูดคุยกันประมาณ 2-3 นาที แล้วครูจึงถามต่อว่า นอกจากน้ำยาขนมจีน ไก่พื้นเมืองสามารถทำเป็นอาหารอะไรได้บ้าง เด็กๆต่างยกมือขึ้นตอบ ซึ่งสามารถตอบได้แบบไม่ซ้ำกันเลยทีเดียว ครูถามต่อว่า 1 เมนูที่เราจะทำเพื่อเปิดตลาดและทุกคนเห็นด้วย พี่แบงค์ บอกว่าทำแซนวิทไก่ครับ เพราะ ไก่ที่เรานำมาเป็นไก่ที่เลี้ยงเองปรุงรสเอง มีผักด้วยครับ นอกจากนี้มีอะไรอีกบ้างที่เราอยากทำและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค พี่แจ๊บ บอกว่า ทำแฮมเบอร์เกอร์ครับ ใช้เวลาไม่นานครับ พวกเราไม่เคยทำครับ จะมีคนซื้อหรือไม่ถ้าสิ่งที่ทำไม่มีประโยชน์ พี่ๆป.5 บอกว่าผักและเนื้อไก่มีประโยชน์ค่ะ/ครับ ดั้งนั้นครูจึงให้เด็กๆหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีนและแซนวิทไก่ เมื่อหาข้อมูลเสร็จเด็กๆนำสิ่งที่ได้จากการศึกษามาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ แบ่งกลุ่มทำน้ำยาขนมจีน แต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำน้ำยาขนมจีนในวันพุธ(พร้อมกับเปิดตลาด) กิจกรรมในอังคาร เนื่องจากในQuarter นี้พี่ๆป.5เรียนเรื่องไก่พื้นเมือง และไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงจะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 1 ปี พี่ๆป.5 จึงได้พูดคุยแลกเปลี่ยนที่สิ่งพบเจอเกี่ยวกับเล้าไก่ อาหาร สภาพแวดล้อมทุกๆครั้งที่เจอปัญหา เช่นเดียวกันวันนี้พวกเราเจอปัญหาว่าตาข่ายที่เราและผู้ปกครองช่วยกันล้อมตอนนี้ ที่ตีนตาข่ายได้หลุดและเป็นโพรงเนื่องจากฝนตก ครูและเด็กๆจึงได้แลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา สรุปพวกเราแก้ปัญหาโดยการปิดด้วยกระสอบทราย และอิฐิตัวหนอนที่ไม่ได้ใช้ บริเวณตีนตาข่ายทั้งหมด หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ เด็กๆสะท้อนว่าวันนี้รู้สึกสนุกและเหนื่อย ครูถามต่อ นอกจากนี้มีอะไรอีกบ้าง ได้เห็นเพื่อนๆช่วยกันครับ/ค่ะ เมื่อมาถึงวันพุธ เด็กๆจะได้ทำน้ำยาขนมจีนจากไก่พื้นเมืองและแซนวิทไก่ ขณะทำกิจกรรมเด็กๆตั้งใจมาก มีสิ่งหนึ่งที่ครูสังเกตเห็นชัดเจนคือ เด็กๆจะเน้นสีสันของน้ำยาขนมจีน เป็นสิ่งแรก หลังจากทานเสร็จทุกคนสะท้อนว่า น้ำยามีรสเผ็ดกว่าปกติมาก แต่พวกเราก็รับผิดชอบจนหมดค่ะ/ครับ และมีโอกาสแบ่งปันเพื่อนกลุ่มอื่นด้วยครับ/ค่ะ พอถึงเวลา 15:00 น. เด็กๆก็เปลี่ยนตนเองเป็นพ่อค้า แม่ค้าตัวจิ๋ว นำสินค้าสู่ผู้บริโภค เมื่อขายสินค้าเสร็จเด็กๆช่วยกันเก็บอุปกรณ์และร่วมกันสะท้อนในวันถัดมา สรุปได้ว่า กลุ่มลูกค้าจะเป็นพี่ๆป.6 ส่วนใหญ่, น้องๆมีบางค่ะ ครูยิ้มสะท้อนว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าซอสที่ใช้ปลอดภัย ชั่วโมงสุดท้ายของสัปดาห์ครูและเด็กๆจะได้พูดคุย สิ่งที่ได้เรียนรู้มีอะไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น นักเรียนมีวิธีแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง และสัปดาห์หน้าเราจะทำอะไรต่อ จากนั้นแต่ละคนก็ทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9